วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คิด

องค์ความรู้เป็นวิชาการเท่านั้น วิธีคิดเป็นวิธีการและเป็นเครื่องมือที่จะทำหน้าที่นั้นๆ
สังคมไทยมีองค์ความรู้พอสมควร แต่ขาดวิธีคิด ไม่ชอบฟังใคร ไม่ชอบคิด
จงฟัง จงอ่านให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยไม่มีอคติ จงรู้สิ่งที่พูด อย่าพูดสิ่งที่รู้

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไปชมรมประกาศพรหมจรรย์

ไปเที่ยวชมรมประกาศพรหมจรรย์ www.nippan-th.net

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ฝึกหัดปฏิบัติธรรมอย่างย่อ

หลักฝึกหัดปฏิบัติธรรมโดยย่อ
การใช้ขีวิตประจำวัน ทำอะไร จงรู้สิ่งที่ถูกรู้ สิ่งนั้นอะไร สิ่งนั้นมาจากอะไร สิ่งนั้นเพื่ออะไร วิธีการทำอย่างไร อย่าเอาความรู้ไปรู้สิ่งนั้น จงรู้สิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น นี้คือรู้กิจนั้นๆ นี้คือ สติ
เวลาพูดก็ต้องรู้ว่า พูดอะไร พูดเรื่องอะไร พูดเพื่อกิจอันใด พูดเป็นไปตามกิจหรือไม่ จงรู้สิ่งที่พูด อย่าเอาความรู้มาพูด จงรู้สิ่งที่พูดเท่านั้น นี้คือ สติ
เวลาฟังก็ฟังว่าเขาพูดอะไร อย่าไปให้ความหมายคำพูดนั้นๆว่า ดี ชั่ว ผิด ถูก หรือใครพูด ฟังเรื่องที่พูดให้ ฟังเพียวๆ ก็ชัดเจนมั่นคง ว่องไว ต่อสิ่งที่ปรุงกันขึ้นนั้นๆ นี้ คือ สมาธิ
สติ+สมาธิ นี้ คือ องค์คุณของปัญญา เมื่อไปรู้ก็โดยคุณสมบัติของปัญญา ก็เห็นวิชชาชัดแจ้ง ก็ได้ข้อมูลจริงจึงทำให้ได้วิธีการ 3 อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาทำหน้าที่ต่อกิจกรรมนั้นๆโดยมัชฌิมาปฏิปทา ทำหน้าที่นั้นๆได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์สงบสันติ ก็สมบูรณ์แบบแล้วมิใข่หรือที่เราเป็นอะไรกันบนโลกใบนี้

จาก สมพร แหยมไทย โทร 036 410021 somporn.land@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลักการปฏิบัตธรรม

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
รู้ความจริงสิ่งที่สังขารกันขึ้น
หลักสูตรปฏิบัติธรรมมี
· หลัก วิชชา 4 (ธรรมชาติสิ่งที่สังขารกันขึ้น)
· วิธีการ 3 (คุณสมบัติการทำหน้าที่ 3 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
· วิถีทาง 8 (ดำเนินไป 8 อย่าง คือ อริยมรรค)

จงรู้สิ่งที่ถูกรู้อยู่ต่อหน้า คิดสิ่งต่อหน้า ฟังสิ่งต่อหน้า รู้ธรรมชาติ 4 อย่าง คือ
1. รู้คุณสมบัติของธรรมชาติของสิ่งนั้น
2. รู้กฎธรรมชาติของสิ่งนั้น
3. รู้กิจของธรรมชาตินั้น
4. รู้ผลของธรรมชาตินั้น
การที่รู้ธรรมชาติ 4 อย่างทำให้มีวิธีการ 3 อย่าง
1. มีศีล เห็นความสามัญของสิ่งนั้น คิดความสามัญของสิ่งนั้น(สัมมาทฏฐิ สัมมาสังกับปะ)
2. มีสมาธิ ความเห็นก็บริสุทธิ์ ความเห็นก็ช้ดเจน ความรู้มันคง ความรู้ว่องไวคบถ้วน (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)
3. ปัญญา รู้กองสังขารโดยครบถ้วนชัดแจ้ง
มีคุณสมบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติหน้าที่โดยความเป็นธรรมเป็นไปโดยมัชฌิมาปฏิปทา เป็นวิถีทางของอริยมรรคที่ปราศจากทุกข์ มีอริยมรรคเป็นวิถีทางในการทำหน้านั้นๆในโลกนี้ทุกอย่าง ทำหน้าที่การศึกษา ทำหน้าที่ต่อกิจกรรมทั้งหลายไม่ยกเว้นอะไรทั้งหมด เพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ปรุงกันขึ้น เป็นสิ่งสังขารกันขึ้น เป็นสิ่งที่สังเคราะห์กันขึ้น นี้คือการเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น นี้คืออริยสัจที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ในตอนเช้าเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ นิพพาน อุบัติขึ้นของความเป็นพุทธเจ้า ในขณะนั้น มีคุณสมบัติเป็นพุทธะ เพราะเห็นธรรม เพราะเห็นธรรม จึงได้ปฏิบัติหน้าที่ ที่มีศีล สมาธิ ปัญญาโดยวิถีทางที่มีองค์ 8 อย่าง
1. เห็นความสามัญ (สัมมาทิฏฐิ)
2. คิดโดยความสามัญ (สัมมาสังกัป)
3. วาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)
4. กระทำไม่มีตัว (สัมมากัมตะ)
5. ดำรงชีวิตโดยธรรม (สัมมาอาชีวะ)
6. ดำเนินโดย บริสุทธิบริบูรณ์ (สัมมาวายามะ)
7. รู้กิจนั้นโดยสมบูรณ์ (สัมมาสติ)
8. บริสุทธิ์ แจ้งมั่นคง ว่องไว(บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)(สัมมาสมาธิ)
(เอกายโน ภิกขเว มัคโค) ทางนี้ทางเดียว สายเดียว เพื่อคนๆเดียว ไปสู่จุดหมายเดียว ทางสายเดียว
ชีวิตนี้มีไม่มากทำไม่ยากไม่ต้องอยากทำ
เห็นหลัก 4 มีวิธีการ 3 เป็นวิถีทาง 8
ทางไม่แคบทีละคนไม่ปนกัน
ดำเนินเป็นนิพพานไม่ผ่านใคร
นี่แหละทางสงบไม่พบพาล

เห็นความจริงของสิ่งที่สังขาร
ปรากฏการณ์สามวิธีที่สำคัญ
วิถีทางแปดอย่างซึมซาบซึ้งร่วมกัน
รวมกันนั้นเป็นทางมรรคคาปฏิปทาฯ

สรุปว่า ทุกสิ่งที่อุบัติขึ้นมาต้องทำหน้าที่เพราะฉะนั้นจึงต้องเห็นแจ้งรู้จริงในคุณสมบัติของธรรมชาตินั้นๆ ธรรมชาติที่ปรุงกันขึ้นและธรรมชาติไม่ปรุง ทุกวันเราทำหน้าที่กับสิ่งที่ปรุงอยู่ จะเป็นการปรุงโดยธรรมชาติก็ดี การปรุงโดยการเคลื่อนย้ายจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั้นคือการปรุงชนิดหนึ่ง เราต้องเห็นแจ้งรู้จริงในสิ่งที่ปรุงกันขึ้นนี้คือ อริยสัจ การที่เห็นแจ้งรู้จริงในคุณสมบัติของสิ่งที่จะทำหน้าที่ เพราะเรารู้ว่าสิ่งนั้น อะไร สิ่งนั้นมาจากอะไร สิ่งนั้นเพื่ออะไร สิ่งนั้นเป็นย่างไร / จริง จำเป็น มีประโยชน์ เราจะได้วิธีการทำหน้าที่มาจากความจริงของสิ่งนั้น เราจะเห็นความสามัญของความจริงนั้น เราจะมีเท็คนิคในการทำหน้าที่นี้คือ ศีล เราจะเห็นรู้สิ่งนั้นอย่างบริสุทธิ์ ขัดเจนมั่นคง ว่องไวนี้คือ สมาธิ เราจะรู้สิ่งนั้นอย่างครบถ้วนนี้คือ ปัญญา เราจะมี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือทำหน้าที่ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยปราศจากทุกข์
· จงฟังเรื่องจะรู้เรื่อง สติคือการรู้เรื่อง
· จงฟังว่าเขาพูดอะไร
· จงรู้สิ่งที่พูด
· จงพูดที่ให้ ศักศรี ให้สิทธิ์ ไห้ประโยนช์
· สติ คือ รู้กิจเฉพาะหน้านั้น
· สมาธิ คือ บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว
· ปัญญา คือ รู้ครบองค์ 4
· คำว่า ปรุง เป็นภาษาไทย
· คำว่า สังขาร เป็นภาษาบาลี
· คำว่า สังขาร กับ ปรุง บัญญัติต่างกันแต่อัฏฐะเดียวกัน (ความหมายเดียวกัน)
· ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น คือ อริสัจ 4
· พระพุทธ คือ ความรู้ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์
· พระธรรม คือ คุณสมบัติของธรรมชาติ 4 อย่าง
· พระสงฆ์ คือ ปฏิบัติหน้าที่ธรรมชาติอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์
· จงเป็นศิษ อย่างคนมีอาจารย์
· จงเป็นแม่พ่อ อย่างคนมีลูก
· จงเป็นลูก อย่างคนมีแม่มีพ่อ
· จงเป็นพี่ อย่างคนมีน้อง
· จงเป็นพลเมือง อย่างคนมีชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์


จากสมพร แหบไทย โทร 036 410021 somporn.land@gmail.com landyerm@hotmail.com
www.nippan-th.net

หลักการปฏิบัติธรรม

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แม่

12 สิงหาคม 2552 เป็นวันนัดหมายกันไปทำกิจกรรมแบบลูกที่มีแม่
แม่คือใคร ใครคือแม่ แม่คือพระอรหันต์ของบุตร แม่ คือ อาจารย์คนแรกของบุตร แม่เป็นผู้ให้กำเนิดความรู้ความคิดของบุตร แม่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา พ่อส่วนหนึ่งของร่างกายเรา แม่เป็นพระธรรมของเรา พ่อเป็นพระพุทธของเรา วันตายของแม่พ่อไม่มี แม่พ่อเป็นพระอรหันต์ของบุตร พระอรหันต์จะตายได้อย่างไร เพราะพระอรหันต์ไม่ได้เกิดจะเอาอะไรมาตาย ความเป็นแม่เป็นการอุบัติขึ้นจากคุณธรรมของความเป็นแม่เท่านั้น คุณธรรมไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีการตาย เป็นอสังขตธรรม ลูกทุกๆคนควรจะรู้จักแม่ในภาวะปูชนียบุคคล ลูกทุกๆคนต้องดำเนินชีวิตอย่างลูกที่มีแม่ ทำกิจกรรมอะไรแบบลูกที่มีแม่ มีความเห็นอะไรแบบลูกมีแม่ คิดอะไรแบบลูกมีแม่ แม่อยู่กับเราตลอดเวลา นี้คือเป็นการอุทิศกุศลให้แม่ อยู่ตลอดเวลา
ลูกๆก็จะมี พระพุทธเป็นพ่อ พระธรรมเป็นแม่ พระสงฆ์เป็นพี่ ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ดำเนินไปโดยความบริสุทธิ์บริบูรณ์ ก็ปรากฏแด่ลูกทุกๆคน

จาก สมพร แหยมไทย โทร 036 410021 somporn.land@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การศึกษา

มาศึกษาวิชชาการทุกอย่างโดยใช้หลัก อริยสัจ 4 จะมีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือศึกษาสูตรให้เป็นศาสตร์ได้แน่นอน ศาสตร์จะสร้างบุคลในสังคมให้มีศักย์ภาพ แล้วรัฐบาลจะมีคุณภาพ
ถ้าบุคลในสังคมไม่มีศักย์ภาพ จะไปหารัฐบาลที่มีคุณภาพคงจะเป็นไปไม่ได้แน่ อย่าไปหาสิ่งที่ไม่มีอยู่เลย เสียเวลาเปล่า

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ภพชาติดับ-นิพพานปรากฏ


ชาติดับ-นิพพานปรากฏ

ชีวิตนี้มีไม่มากทำไม่ยากไม่ต้องอยากทำ
เห็นหลัก 4 มีวิธีการ 3 เป็นวิถีทาง 8
ทางไม่แคบทีละคนไม่ปนกัน
ดำเนินเป็นนิพพานไม่ผ่านใคร
นี่แหละทางสงบไม่พบพาล

เห็นความจริงของสิ่งที่สังขาร
ปรากฏการณ์สามวิธีที่สำคัญ
วิถีทางแปดอย่างซึมซาบซึ่งร่วมกัน
รวมกันนั้นเป็นทางมรรคคาปฏิปทาฯ

{วิชชา 4 วิธีการ 3 วิถีทาง 8}
ปรารภจาก
สมพร แหยมไทย
www.nippan-th.net
landyerm@hotmail.com
โทร 036 410 021

เวลาอยู่ ไม่จำเป็น รู้จักฉัน
เวลาฉัน นั้นจากไป จะได้ไม่ห่วงใย

เพียงครั้งเดียว ฉันเกิดมา ในโลกนี้
สิ่งใดที่ ฉันทำได้
ความเมตตากรุณาต่อใครๆ
ฉันขอทำให้ทันที
ไม่ผัดรอ คอยถึง โอกาสหน้า
ไม่รอรีบช้าทำให้เต็มที
ฉันคง ไม่เกิดซ้ำ มาอีกที
รีบฉวยนั้น ทันที แก่โลกเอย

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เลี้ยงลูกให้เป็นอริย

{เลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความเป็นอริยะ}
(อริยะ คือไม่มีปัญหา ปราศจากปัญหา)

1. เมื่อลูกทำผิดอย่าตำนิโดยนำเอาบุคลอื่นมาเปรียบเทียบ จงชี้แจงเฉพาะที่เขาทำ
2. เมื่อลูกทำผิดรับผิดแล้วอย่าลงโทษ เมื่อเขารับผิดแล้ว การรับผิดของลูกนั่นและคือการลงโทษที่สมบูรณ์แล้ว
3. เมื่อลูกทำผิด อย่าเป็น นักพยากรณ์ในอนาคตลูก.ในทางที่ไม่ดี
4. เมื่อลูกมีปัญหาอย่าตำนิ จงชี้ขั้นตอนให้ลูกเห็น อย่าพูดแบบเสร็จรูป
5. อย่าเอาความเห็นเราไปสอนลูก จงเอาสิ่งที่ลูกเห็นอยู่แสดงให้เขาดู
6. จงเขาใจโลกของลูก ทุกๆคนมีบุคลิกเฉพาะตัว
7. เมื่อลูกทำการบ้านมีข้อไหนที่ทำไม่ได้ จงอธิบายคำถามของโจทย์ให้เขาใจก่อน จรึงจะอธิบายวิธีทำ
8. จงพูดกับลูกในแง่คุณค่า อย่าพูดในแง่มูลค่า ถ้าลูกมีคุณค่าแล้ว มูลค่าไม่ต้องห่วงมีแน่
9. จงทำสิ่งที่เราต้องการ อย่าทำสิ่งที่เราไม่ต้องการ (ทำสิ่งที่เราไม่อยากได้ อยากได้สิ่งที่เราไม่ได้ทำ)
10. จงรู้อยู่เสมอลูกเป็นทรัพยากรบุคคลสำหรับเรา จงมีทรัพยากรวัตถุเพื่อไว้บริหารทรัพยากรบุคคลให้สมบูรณ์

จากผม สมพร แหยมไทย ผู้ปกครอง ด.ช.พิทักษ์ เหล็กดี ป3/1 ร้านแลนด์ 33/2 ถ.พระยากำจัด อ.เมือง จ.ลพบุรี โทร 036 410021 yermland@hotmail.com


ต้องการทราบอะไรเพิ่มเติม โทรติดต่อผมสมพร แหยมไทย 036 410021
กราบเรียนมายังผู้ปกครองโดยความเคารพ
โปรดแสดงความเห็น

วัน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา มาฆบูชา
· วันวิสาบชา (วันพระพุทธ) เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ณ ใต้ร่มไม้สาละใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เรียกว่าพุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารจองอินเดีย
สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น
หลังจากเจ้าสิทธัตถะเลิกจากการอดอาหารกับมากินอาหาร ปัญจวัคคีย์แยกทางจากท่านไป ท่านก็ได้ฉันอาหารจากนางสุชาดา มาแก้บนที่ต้องการจะมีลูก วันอังคาร ขึ้น ๑๔ คำ เดือน ๖ ปีระกา ตอนเย็นได้ใบหญ้าคาไปปูนั่งไต้ร่มต้นสาละ แล้วได้ใช้ความรู้ฌาน ๘ เรียนมาจากอุทกดาบท ดาลาดาบน มาใช้ค่ำคืนนั้น เริ่มต้น
1. (ปฐมฌาน) มีองค์ ๕ วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข-เอกคตา
2. (ทุติฌาน) มีองค์ ๓ ปิติ-สุข-เอกคตา
3. (ตติยฌาน) มีองค์ ๒ สุข-เอกคตา
4. (จตุตฌาน) มีองค์ ๒ อุเบกขา-เอกคตา
ใช้คุณสมบัติของฌานสี่พิจารนากองแห่งเบญจขันธ์ทั้งหลาย
เบญจขันธ์นั้นอย่างไร
เบญจขันธ์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร
เบญจขันธ์ทำให้เกิดอะไร
พิจารนาในขบวนการของปฏิจสมุปบาทการเกิดภพชาติ โดยอนุโลม ปฏิโลม
ยามต้น”ปุพเพนิวาสานุติญาณ”คือทรงระลึกชาติในอดีตได้
ยามสอง”จุตูปปาญาณ”คือ รู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม”อาสวักขญาณ”คือ รู้ความสิ้นสุดของอาสวกิเลส ขณะนั้นเจ้าสิทธัตถะก็ได้ตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น(คือ อริยสัจสี่)ความเป็นพุทธะก็อุบัติขึ้น ความถูกพันธการในภพ ชาติ ก็สิ้นสุดลงไม่มีภพขาติอีกต่อไป นี้คือนิพพาน เป็นวันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา หลังจากนั้นก็อยู่ ณ ที่นั้นจึงพิจารนาควรจะแสดงธรรมหรือไม่แสดงธรรมกับเวนัยสัตว์ทั้งหลาย ก็มาพบว่าในเบญจขันธ์ของสัตว์มีธาตุแห่งพุทธะอยู่และความเห็นที่เบาบางจากอาสวกิเลสก็มีอยู่เห็นควรแสดงธรรม มาเห็นควรจะแสดงธรรมกับปัญจวัคคีย์ ก็มาทบทวนบัญญัติในการแสดงธรรม เป็นเวลา 49 วัน หลังจากนั้นก็ออกเดินทางไปหาปัญจวัคคีย์

· วันอาสาฬหบูชา (วันพระธรรม) เป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงปฐมเทศนา หรือแสดงธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ ๒เดือน เป็นวันที่ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี ปัจจบันค์อสารนาถพระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบลง พระโกณฑัญญะ ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า
ยํ กิณฺจิ สมฺทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิ โรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งสังขารกันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นเป็นธรรมดา
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ท่านแสดงธรรมให้ออกจากการกระทำสองอย่าง
๑ กามสุขัลลิกานุโยคะ แสวงสิ่งที่ ยากได้ ยากเป็น ยากมี ยากไป ยากถึง
๒ อัตตกิลทถุนุโยคะ แสวงหาสิ่งที่เห็นว่ามีอยู่และสิ่งที่เป็นตัวตน สิ่งที่ได้วันข้างและชาติหน้าโดยสักกายทิฏฐิ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ที่สุด 2 อย่างที่บรรพชิดไม่ควรประพฤติปฏิบัติ คือ 1 กามสุขัลลิกานุโยคะ 2 อัตตกิลทถุนุโยคะ จงมาฟังเรื่องนี้กันเถิดเพื่อนทั้ง 5 เราจัก แสดงเรื่องนี้
1. ทุกขอริยสัจ คือ สภาพอันใดที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้สภาพอันใดที่ไม่คงรูป สภาพนั้นคือทุกข์ ทุกข์เท่านั้นตั้งขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป ไม่มีอะไรนอกจากนี้ เธอจงเห็นความจริงของธรรมนี้โดยอย่างยิ่ง (คืออะไร)
2. สมุทัยอริยสัจ คือ ปัจจัยทั้งหลายมีเหตุให้สังขารกันขึ้น จงเห็นความจริงของปฏิจสมุบาทธรรมขบวนการที่สังขารกันขึ้นโดยธรรม (มาจากอะไร)
3. นิโรธอริสัจ คือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เธอจงเห็นความจริงของธรรมนี้โดยอย่างยิ่ง (เพื่ออะไร)
4. มรรคอริสัจ ปรากฏ ศีล สมาธิ ปัญญา ประกอบด้วยมรรค มีองค์ 8 อย่าง

1. (สัมมาทิฏฐิ) เห็นธาตุเห็นธรรม – เห็นความสามัญ
2. (สัมมาสังกัปปะ) คิดที่หน้าที่ของธรรม – คิดโดยความสามัญของกิจนั้น ศีล 2
3. (สัมมาวาจา) วาจาสัจจะ
4. (สัมมากัมมันตะ) การกระทำที่ปราศจากมีตัวตน
5. (สัมมาอาชีวะ) ดำรงชีวิตโดยธรรม สมาธิ 4 ไตรสิกขา
6. (สัมมาวายามะ) ดำเนินไปโดยสมควรแก่ธรรม
7. (สัมมาสติ) รู้กิจที่ทำ ณ ที่นั้น
8. (สัมมาสมาธิ) รู้ธรรมชาตินั้นอย่างบริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคงอุเบกขา ว่องไวต่อธรรมชาติที่ไม่คงรูปไม่คงที่ ปัญญา2
นี้คือธรรมที่เราได้ตรัสรู้โดยปริวัต 3 ในธรรมอริยสัจ 4 ปริวัต 3 อย่างคือ
1. (สัจญาณ) รู้สัจจะของธรรมชาติ
2. (กิจญาณ) รู้กิจของธรรมชาติ
3. (กตญาณ) รู้ ปรากฏของธรรมชาติ ว่าเป็นเช่นนั้น
อริยสัจ 4 อย่างคือ
1. สภาวธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
2. สัจธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
3. ปฏิบัติธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
4. ปฏิเวธธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
เมื่อเราเห็นรู้แจ้งในธรรมอริยสัจ 4 โดยปริวัต 3โดยความบริสุทธิ์บริบูณ์ จึงประกาศเห็นแล้วรู้แล้ว เมื่อแสดงธรรมจบลง อัญญาโกณฑัญญะ ดวงตาเห็นธรรม อีกสี่องค์ยังไม่เห็นธรรม ท่านทรงแสดงธรรม”อนัตตลักขณสูตร” เรื่องอนัตตา ทุกข์ขัง อนิจจัง ในขันธ์ 5 แสดงแบบปุจฉาวิสัทฉนา ขันธ์ 5 คือ
1. (รูปขันธ์) ที่ตั้งแห่งอารมณ์ มหาภูตรูป+อุปาทายรูป เป็นรูปขันธ์ มีอัตตาเป็นคุณสมบัติ มีผัสสะเป็นกิจ
2. (เวทนาขันธ์) รู้สึกต่ออารมณ์
3. (สัญญาขันธ์) มั่นหมายในอารมณ์
4. (สังขารขันธ์) นึกคิดปรุงแต่งในอารมณ์
5. (วิญญาณขันธ์) รู้ในอารมณ์ที่ปรุงแต่ง
ขันธ์ 5 เป็นสมุทัยแห่งการเกิดภพชาติในรูปของปฏิจสมุปบาท ขบวนการเกิด สามภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
พระพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังได้พิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว เห็นธรรมชาติของขันธ์ 5 จิตก็จะพ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นก็ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระพุทธเจ้าได้ตรัส อนัตตลักขณสูตร นี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์ ก็เห็นแจ้งในธรรมนั้น จิตของปัญจวัคคีย์ก็ปราศจากอาสวะทั้งหลาย ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 องต์ก็ดำรงอยู่โดยภาวพระอรหัต

วันบาฆบูชา วันพระสงฆ์ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระภิกษุ 1250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ เวฬุวนาราม เป็นวัน โอวาทปาติโมกข์ หลักของการประกาศพรหมจรรย์ พระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง คาถา โอวาทปาฏิโมกข์
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติขา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺตา จ ภตฺตสฺมํ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานํสาสนํ
เป็นให้ภิกษุสงฆ์ประกาศ พรหมจรรย์ โดยใช้วิชชา 4 (อริสัจ4) เป็นฐานราก วิธีการ 3 (ไตรสิกขา) เป็นโครงร้าง วิถีทาง 8 (อริยมรรคมีองค์ 8)เป็นการดำเนินการ
สัพสิ่งบริสุทธิ์ ทุกกรณีกิจเป็นไปโดยกุศล
จิตอ่อนโยนโดยคบถ้วน พุทธะประธานอาสน
นิพพานเป็น บรมธรรม
ความมั่นคง อุเบขา เป็นตะบะอย่างยิ่ง
ผู้รู้คือพุทธตรัสว่า นิพพานเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลายทั้งปวง
บรรพชิตที่ยัง มุสา เพ้อเจ้อ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่ไม่ใช่บรรพชิต
ปราศจากบาปทั้งปวง กิจกำนั้นๆต้องเป็นกุศล ถึงพร้อมด้วยจิตบริสุทธิ์ไม่มีอคติ

เราท่านทั้งหลายมาเรียนรู้เรื่องพรหมจรรย์ที่พระพุทธเจ้าท่านให้โอวาทวันประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ถึง 1250 รูป ว่าท่านประกาศเรื่องอะไร โดยความงาม 3 อย่าง อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยานัง ปริโยสานกัลป์ยานัง ท่านประกาศเรื่องวิชชา 4 คือ ความจริง 4 อย่างของปัจจัยที่มีเหตุให้สังขารกันขึ้น ความจริง 4 อย่างคือ
1. ธรรมชาติ ของทุกสิ่ง
2. กฎของธรรม ขบวนการของธรรม
3. หน้าที่ของธรรม กิจของธรรม
4. ปรากฏการของธรรม ผลของธรรม (4 อย่างนี้รวมกันได้บัญญัติว่าอริยสัจ 4)
เห็นแจ้งในความจริง 4 อย่างแล้วก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือปฏิบัติหน้าโดยความเป็นธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นๆวิถีทางทำหน้าที่ก็ประกอบโดยอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ
1. สัมมาทิฏฐิ- เห็นธาตุเห็นธรรม - เห็นความสามัญ
2. สัมมาสังกัปปะ- คิดหน้าที่ของธรรม – คิดโดยความสามัญของกิจนั้น
3. สัมมาวาจา- วาจาสัจจะ
4. สัมมากัมมันตะ- การกระทำที่ไม่มีเรากระทำ มีแต่ธรรมชาติล้วนๆดำเนินไป
5. สัมมาอาชีวะ- ดำรงชีวิตโดยธรรม
6. สัมมาวายามะ- ดำเนินไปโดยหน้าที่ของธรรม
7. สัมมาสติ- รู้กิจนั้นๆโดยสมบูรณ์
8. สัมมาสมาธิ- เห็นรู้อย่าง บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลง - ฉลาดทันเวลา
ได้ภาวะของนิพพาน 2 อย่าง คือ
1. สัมมาญาณะ- รู้สิ่งที่ถูกรู้ ชัดแจ้งอย่างยิ่ง
2. สัมมาวิมุต- ปราศจากภพชาติโดยสิ้นเชิง ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งได้อีกเป็นอตัมมยตา อุเบกขาสงบสันติ

จาก สมพร แหยมไทย โทร 036 410 021
www.nippan-th.met
somporn.land@gmail.com


วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หลัก 4

ศิลปะการดำรงชีวิต ต้องมี หลัก 4 เป็นวิชชาการทุกๆเรื่องที่หน้าที่ จะชัดเจน มั่นคง ว่องไว ต่อหน้าที่นั้นๆโดยความสงบสันติสุขทุกประการฯ

คนไทย

ทำไมคนไทย(ส่วนใหญ่)ขับรถราคาเป็นล้าน, แต่บ้านตัวเองไม่น่าอยู่เลย
ประเด็นก็คือ ผมรู้จักหลายคนที่ขับรถราคาล้านกว่า-สองล้านบาท ใช้มือถือไอโฟน แต่พอไปเยี่ยมเค้าที่บ้าน บ้านไม่น่าอยู่เลย ไม่ได้พูดถึงว่าเล็กหรือใหญ่นะครับ แต่หมายถึงการตกแต่งแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน และเครื่องใช้ภายในบ้าน ส่วนใหญ่เห็นแต่ทาสีกำแพงสีขาวหรือครีมไม่ติด wallpaper พื้นก็ปูกระเบื้องแผ่นเล็กราคาถูกไม่สวย ไม่ปูหินอ่อน หรือพรม เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ก็ design ธรรมดา ไม่สวยงาม แต่เน้นราคาถูก โซฟาก็เล็กไม่สวยไม่น่านั่ง โต๊ะเก้าอี้กินข้าว design ธรมมดา ฯลฯ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แค่เป็นข้อสังเกตุว่าคนไทยชอบที่จะโชว์ออฟด้วยการขับรถหรูราคาแพง ใช้มือถือไฮเทค(ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ function ครบ) ชอบใส่นาฬิการาคาแพง สรุปคือ ให้ความสำคัญกับเฟอร์นิเจอร์รอบกาย แต่ไม่ให้ความสำคัญกับบ้านซึ่งเป็น ที่อยู่อาศัยและเป็นปัจจับสำคัญในการดำรงชีวิต ลองคิดดูว่าถ้าแทนที่จะซื้อรถราคาสองล้าน แต่ซื้อรถแค่ราคาหนึ่งล้าน แล้วเอาที่เหลือมาตกแต่งบ้านให้สวยงามน่าอยู่ จะดีกว่ามั้ยครับ เป็นไปได้หรือไม่ ว่าเมืองไทยไม่มีวัฒนธรรมในการเชิญเพื่อนฝูงหรือญาติมาสังสรรค์ที่บ้าน ส่วนใหญาจะนัดเจอกันที่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารซะมากกว่า จึงไม่สนใจแต่งบ้านให้สวยเพื่อรับแขก ต่างกับในยุโรป ประเทศที่ผมกำลังอยูตอนนี้ เค้าแต่งบ้านกันสวยมาก ชอบไปซื้อเฟอร์นิเจอร์หรือของแต่งบ้านสวยๆมาประดับบ้าน แต่เค้าไม่ขับรถกัน อาศัยนั่งรถเม รถไฟฟ้าหรือขี่จักรยานกัน และรถที่ขับก็เป็นรถเล็กๆปะมานjazz,yaris ราคาหกแสนบาท แต่สิ่งที่ต่างกับไทยก็คือ ห้างสรรพสินค้าที่นี่ไม่ใหญ่โตหรูหราเหมือน พารากอน เซนทรัลเวิร์ลด์ หรือ เอมโพเรียมบ้านเรา ห้างที่นี่คือห้างจริงๆ มาซื้อของจบ ไม่มีโรงหนัง โบวลิ่ง คาราโอเกะ ร้านอาหารหรูๆ แต่โรงหนัง หรือโบวลิ่ง จะสร้างต่างหากไม่อยู่ในห้าง ดังนั้นคนยุโรปจึงมีนิสัยติดบ้าน เลิกงานเสร็จก็กลับบ้านทันที ไม่ได้แสะเดินห้าง ดูหนังเหมือนคนไทย เค้าจึงชอบแต่งบ้าน และมักจะเชิญเพื่อนฝูงมาสังสรรค์ที่บ้านมากกว่านัดเจอกันที่ห้าง