วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วัน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา มาฆบูชา
· วันวิสาบชา (วันพระพุทธ) เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ณ ใต้ร่มไม้สาละใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เรียกว่าพุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารจองอินเดีย
สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น
หลังจากเจ้าสิทธัตถะเลิกจากการอดอาหารกับมากินอาหาร ปัญจวัคคีย์แยกทางจากท่านไป ท่านก็ได้ฉันอาหารจากนางสุชาดา มาแก้บนที่ต้องการจะมีลูก วันอังคาร ขึ้น ๑๔ คำ เดือน ๖ ปีระกา ตอนเย็นได้ใบหญ้าคาไปปูนั่งไต้ร่มต้นสาละ แล้วได้ใช้ความรู้ฌาน ๘ เรียนมาจากอุทกดาบท ดาลาดาบน มาใช้ค่ำคืนนั้น เริ่มต้น
1. (ปฐมฌาน) มีองค์ ๕ วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข-เอกคตา
2. (ทุติฌาน) มีองค์ ๓ ปิติ-สุข-เอกคตา
3. (ตติยฌาน) มีองค์ ๒ สุข-เอกคตา
4. (จตุตฌาน) มีองค์ ๒ อุเบกขา-เอกคตา
ใช้คุณสมบัติของฌานสี่พิจารนากองแห่งเบญจขันธ์ทั้งหลาย
เบญจขันธ์นั้นอย่างไร
เบญจขันธ์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร
เบญจขันธ์ทำให้เกิดอะไร
พิจารนาในขบวนการของปฏิจสมุปบาทการเกิดภพชาติ โดยอนุโลม ปฏิโลม
ยามต้น”ปุพเพนิวาสานุติญาณ”คือทรงระลึกชาติในอดีตได้
ยามสอง”จุตูปปาญาณ”คือ รู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม”อาสวักขญาณ”คือ รู้ความสิ้นสุดของอาสวกิเลส ขณะนั้นเจ้าสิทธัตถะก็ได้ตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น(คือ อริยสัจสี่)ความเป็นพุทธะก็อุบัติขึ้น ความถูกพันธการในภพ ชาติ ก็สิ้นสุดลงไม่มีภพขาติอีกต่อไป นี้คือนิพพาน เป็นวันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา หลังจากนั้นก็อยู่ ณ ที่นั้นจึงพิจารนาควรจะแสดงธรรมหรือไม่แสดงธรรมกับเวนัยสัตว์ทั้งหลาย ก็มาพบว่าในเบญจขันธ์ของสัตว์มีธาตุแห่งพุทธะอยู่และความเห็นที่เบาบางจากอาสวกิเลสก็มีอยู่เห็นควรแสดงธรรม มาเห็นควรจะแสดงธรรมกับปัญจวัคคีย์ ก็มาทบทวนบัญญัติในการแสดงธรรม เป็นเวลา 49 วัน หลังจากนั้นก็ออกเดินทางไปหาปัญจวัคคีย์

· วันอาสาฬหบูชา (วันพระธรรม) เป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงปฐมเทศนา หรือแสดงธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ ๒เดือน เป็นวันที่ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี ปัจจบันค์อสารนาถพระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบลง พระโกณฑัญญะ ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า
ยํ กิณฺจิ สมฺทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิ โรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งสังขารกันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นเป็นธรรมดา
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ท่านแสดงธรรมให้ออกจากการกระทำสองอย่าง
๑ กามสุขัลลิกานุโยคะ แสวงสิ่งที่ ยากได้ ยากเป็น ยากมี ยากไป ยากถึง
๒ อัตตกิลทถุนุโยคะ แสวงหาสิ่งที่เห็นว่ามีอยู่และสิ่งที่เป็นตัวตน สิ่งที่ได้วันข้างและชาติหน้าโดยสักกายทิฏฐิ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ที่สุด 2 อย่างที่บรรพชิดไม่ควรประพฤติปฏิบัติ คือ 1 กามสุขัลลิกานุโยคะ 2 อัตตกิลทถุนุโยคะ จงมาฟังเรื่องนี้กันเถิดเพื่อนทั้ง 5 เราจัก แสดงเรื่องนี้
1. ทุกขอริยสัจ คือ สภาพอันใดที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้สภาพอันใดที่ไม่คงรูป สภาพนั้นคือทุกข์ ทุกข์เท่านั้นตั้งขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป ไม่มีอะไรนอกจากนี้ เธอจงเห็นความจริงของธรรมนี้โดยอย่างยิ่ง (คืออะไร)
2. สมุทัยอริยสัจ คือ ปัจจัยทั้งหลายมีเหตุให้สังขารกันขึ้น จงเห็นความจริงของปฏิจสมุบาทธรรมขบวนการที่สังขารกันขึ้นโดยธรรม (มาจากอะไร)
3. นิโรธอริสัจ คือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เธอจงเห็นความจริงของธรรมนี้โดยอย่างยิ่ง (เพื่ออะไร)
4. มรรคอริสัจ ปรากฏ ศีล สมาธิ ปัญญา ประกอบด้วยมรรค มีองค์ 8 อย่าง

1. (สัมมาทิฏฐิ) เห็นธาตุเห็นธรรม – เห็นความสามัญ
2. (สัมมาสังกัปปะ) คิดที่หน้าที่ของธรรม – คิดโดยความสามัญของกิจนั้น ศีล 2
3. (สัมมาวาจา) วาจาสัจจะ
4. (สัมมากัมมันตะ) การกระทำที่ปราศจากมีตัวตน
5. (สัมมาอาชีวะ) ดำรงชีวิตโดยธรรม สมาธิ 4 ไตรสิกขา
6. (สัมมาวายามะ) ดำเนินไปโดยสมควรแก่ธรรม
7. (สัมมาสติ) รู้กิจที่ทำ ณ ที่นั้น
8. (สัมมาสมาธิ) รู้ธรรมชาตินั้นอย่างบริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคงอุเบกขา ว่องไวต่อธรรมชาติที่ไม่คงรูปไม่คงที่ ปัญญา2
นี้คือธรรมที่เราได้ตรัสรู้โดยปริวัต 3 ในธรรมอริยสัจ 4 ปริวัต 3 อย่างคือ
1. (สัจญาณ) รู้สัจจะของธรรมชาติ
2. (กิจญาณ) รู้กิจของธรรมชาติ
3. (กตญาณ) รู้ ปรากฏของธรรมชาติ ว่าเป็นเช่นนั้น
อริยสัจ 4 อย่างคือ
1. สภาวธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
2. สัจธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
3. ปฏิบัติธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
4. ปฏิเวธธรรม (เห็นรู้แจ้งโดยปริวัต 3)
เมื่อเราเห็นรู้แจ้งในธรรมอริยสัจ 4 โดยปริวัต 3โดยความบริสุทธิ์บริบูณ์ จึงประกาศเห็นแล้วรู้แล้ว เมื่อแสดงธรรมจบลง อัญญาโกณฑัญญะ ดวงตาเห็นธรรม อีกสี่องค์ยังไม่เห็นธรรม ท่านทรงแสดงธรรม”อนัตตลักขณสูตร” เรื่องอนัตตา ทุกข์ขัง อนิจจัง ในขันธ์ 5 แสดงแบบปุจฉาวิสัทฉนา ขันธ์ 5 คือ
1. (รูปขันธ์) ที่ตั้งแห่งอารมณ์ มหาภูตรูป+อุปาทายรูป เป็นรูปขันธ์ มีอัตตาเป็นคุณสมบัติ มีผัสสะเป็นกิจ
2. (เวทนาขันธ์) รู้สึกต่ออารมณ์
3. (สัญญาขันธ์) มั่นหมายในอารมณ์
4. (สังขารขันธ์) นึกคิดปรุงแต่งในอารมณ์
5. (วิญญาณขันธ์) รู้ในอารมณ์ที่ปรุงแต่ง
ขันธ์ 5 เป็นสมุทัยแห่งการเกิดภพชาติในรูปของปฏิจสมุปบาท ขบวนการเกิด สามภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
พระพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังได้พิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว เห็นธรรมชาติของขันธ์ 5 จิตก็จะพ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นก็ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระพุทธเจ้าได้ตรัส อนัตตลักขณสูตร นี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์ ก็เห็นแจ้งในธรรมนั้น จิตของปัญจวัคคีย์ก็ปราศจากอาสวะทั้งหลาย ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 องต์ก็ดำรงอยู่โดยภาวพระอรหัต

วันบาฆบูชา วันพระสงฆ์ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระภิกษุ 1250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ เวฬุวนาราม เป็นวัน โอวาทปาติโมกข์ หลักของการประกาศพรหมจรรย์ พระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง คาถา โอวาทปาฏิโมกข์
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติขา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺตา จ ภตฺตสฺมํ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานํสาสนํ
เป็นให้ภิกษุสงฆ์ประกาศ พรหมจรรย์ โดยใช้วิชชา 4 (อริสัจ4) เป็นฐานราก วิธีการ 3 (ไตรสิกขา) เป็นโครงร้าง วิถีทาง 8 (อริยมรรคมีองค์ 8)เป็นการดำเนินการ
สัพสิ่งบริสุทธิ์ ทุกกรณีกิจเป็นไปโดยกุศล
จิตอ่อนโยนโดยคบถ้วน พุทธะประธานอาสน
นิพพานเป็น บรมธรรม
ความมั่นคง อุเบขา เป็นตะบะอย่างยิ่ง
ผู้รู้คือพุทธตรัสว่า นิพพานเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลายทั้งปวง
บรรพชิตที่ยัง มุสา เพ้อเจ้อ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่ไม่ใช่บรรพชิต
ปราศจากบาปทั้งปวง กิจกำนั้นๆต้องเป็นกุศล ถึงพร้อมด้วยจิตบริสุทธิ์ไม่มีอคติ

เราท่านทั้งหลายมาเรียนรู้เรื่องพรหมจรรย์ที่พระพุทธเจ้าท่านให้โอวาทวันประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ถึง 1250 รูป ว่าท่านประกาศเรื่องอะไร โดยความงาม 3 อย่าง อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยานัง ปริโยสานกัลป์ยานัง ท่านประกาศเรื่องวิชชา 4 คือ ความจริง 4 อย่างของปัจจัยที่มีเหตุให้สังขารกันขึ้น ความจริง 4 อย่างคือ
1. ธรรมชาติ ของทุกสิ่ง
2. กฎของธรรม ขบวนการของธรรม
3. หน้าที่ของธรรม กิจของธรรม
4. ปรากฏการของธรรม ผลของธรรม (4 อย่างนี้รวมกันได้บัญญัติว่าอริยสัจ 4)
เห็นแจ้งในความจริง 4 อย่างแล้วก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือปฏิบัติหน้าโดยความเป็นธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นๆวิถีทางทำหน้าที่ก็ประกอบโดยอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ
1. สัมมาทิฏฐิ- เห็นธาตุเห็นธรรม - เห็นความสามัญ
2. สัมมาสังกัปปะ- คิดหน้าที่ของธรรม – คิดโดยความสามัญของกิจนั้น
3. สัมมาวาจา- วาจาสัจจะ
4. สัมมากัมมันตะ- การกระทำที่ไม่มีเรากระทำ มีแต่ธรรมชาติล้วนๆดำเนินไป
5. สัมมาอาชีวะ- ดำรงชีวิตโดยธรรม
6. สัมมาวายามะ- ดำเนินไปโดยหน้าที่ของธรรม
7. สัมมาสติ- รู้กิจนั้นๆโดยสมบูรณ์
8. สัมมาสมาธิ- เห็นรู้อย่าง บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลง - ฉลาดทันเวลา
ได้ภาวะของนิพพาน 2 อย่าง คือ
1. สัมมาญาณะ- รู้สิ่งที่ถูกรู้ ชัดแจ้งอย่างยิ่ง
2. สัมมาวิมุต- ปราศจากภพชาติโดยสิ้นเชิง ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งได้อีกเป็นอตัมมยตา อุเบกขาสงบสันติ

จาก สมพร แหยมไทย โทร 036 410 021
www.nippan-th.met
somporn.land@gmail.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น