วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลอนนิพพาน

Picture 039

ชาติดับ-นิพพานปรากฏ

ชีวิตนี้มีไม่มากทำไม่ยากไม่ต้องอยากทำ

เห็นหลัก 4 มีวิธีการ 3 เป็นวิถีทาง 8

ทางไม่แคบทีละคนไม่ปนกัน

ดำเนินเป็นนิพพานไม่ผ่านใคร

นี่แหละทางสงบไม่พบพาล

เห็นความจริงของสิ่งที่สังขาร

ปรากฏการณ์สามวิธีที่สำคัญ

วิถีทางแปดอย่างซึมซาบซึ่งร่วมกัน

รวมกันนั้นเป็นทางมรรคคาปฏิปทาฯ

{วิชชา 4 วิธีการ 3 วิถีทาง 8}

ปรารภจาก

สมพร แหยมไทย

www.nippan-th.net

landyerm@hotmail.com

โทร 036 410 021

เวลาอยู่ ไม่จำเป็น รู้จักฉัน

เวลาฉัน นั้นจากไป จะได้ไม่ห่วงใย

เพียงครั้งเดียว ฉันเกิดมา ในโลกนี้

สิ่งใดที่ ฉันทำได้

ความเมตตากรุณาต่อใครๆ

ฉันขอทำให้ทันที

ไม่ผัดรอ คอยถึง โอกาสหน้า

ไม่รอรีบช้าทำให้เต็มที

ฉันคง ไม่เกิดซ้ำ มาอีกที

รีบฉวยนั้น ทันที แก่โลกเอย

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

http://www.nippan-th.net

จะมีธรรมะได้อย่างไร

ธรรมะคืออะไร

ธรรมะคือ ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น คือ

1. ธรรมะ คือ ธรรมชาติ

2. ธรรมะ คือ กฎของธรรมชาติ

3. ธรรมะ คือ หน้าที่ของธรรมชาติ

4. ธรรมะ คือ ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ

เห็นวิชชา 4

1. จงเห็นคุณสมบัติของธรรมชาตินั้นๆ เห็นความสามัญของธรรมชาตินั้นๆ (ตถตา)

2. จงเห็นกฎของธรรมชาตินั้น เห็นสัจธรรม (ตถตา)

3. จงเห็นหน้าที่ของธรรมชาตินั้น เห็นกิจของธรรมชาตินั้น (ตถตา)

4. จงเห็นผลของการทำหน้าที่ของธรรมชาตินั้น (ตถตา)

วิชชาพุทธศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์

1. ทนต่อการพิสูจน์ มีค่าคงที่ (เป็นตถตา)

2. ดำรงอยู่โดยไม่อาศัยปัจจัย

3. มีการครอบงำสังขารทั้งหลาย

4. เป็นสิ่งเห็นได้ เรียกมาดูได้ รู้สึกได้ (มีวิมุตเป็นเอหิปัจสิโก)

จะมีธรรมะได้อย่างไร

จะมีธรรมะโดย คือ

(จงศึกษาพุทธศาสตร์โดยความเป็นวิทยาศาสตร์)

1. จงรู้สิ่งที่พูด อย่าพูดสิ่งที่รู้

2. จงฟังเรื่อง อย่าฟังคน จงเห็นสิ่งที่ถูกเห็น จงรู้สิ่งที่ถูกรู้ อย่าเอาความรู้ไปรู้ จงเห็นเรื่องต่อหน้า จงพูดเรื่องต่อหน้า (โดยพุทธพจน์กล่าวว่า ใบไม้ในมือแม้แต่เล็กน้อยก็ใช้ประโยชน์ได้ ใบไม้ในป่าอันมากมายอย่าเพิ่งไปรู้มันเลยให้มาอยู่ในมือค่อยรู้กัน)

3. จงเห็นรู้ความสามัญของหน้าที่การงานนั้นๆ

4. จงเคารพหน้าที่การงานที่ตนทำอยู่

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พุทธธรรม

วันนี้วันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เป็นคลายวันเกิดท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเมื่อ พ.ศ.2449 นับตั้งแต่วันนั้นมาถึงวันนี้เวลาประมาท 105 ปีแล้วท่านอาจารย์พุทธทาสตั้งสวนโมกข์ขึ้นเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2475

วันนี้เป็นวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2554 เป็นวันคลายวันเกิดท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุท่านอาจารย์สั่งไว้ว่าเมื่อกายสังขารฉันจากไปจงสนทนาธรรมซักถามธรรม เพี่อการเกื้อกูลอนุเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้สู่พุทธธรรม เหมือนเมื่อเรายังอยู่

วันนี้ผมจะพูดการสู่พุทธ ธรรม โดยเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น เพราะชีวิตทุกรูปทุกนามต้องเกี่ยวคล้องกับสิ่งที่สังขารกันขึ้น ดลอดชีวิตของเราทุกถานะทุกภาวะทุกเพศทุกวัย

คำสังขารมีความสำคัญอย่างไร พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญอย่างไร ผมจะยกตัวอย่างมาให้ดูสักเรื่องหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าคุณสมบัติอริยสัจมี 4 อย่างคือ

1. อริยสัจ มีลักษณะ ทนต่อการพิสูจน์

2. อริยสัจ มีอาการทรงอยู่โดยไม่อาศัยปัจจัย

3. อริยสัจ มีกิจครอบงำสังขารทั้งหลาย

4. อริยสัจ มีรสเป็นวิมุตเอหิปัจสิโก เป็นสิ่งที่รู้สึกได้ เห็นได้ เรียกมาดูได้

อริยสัจ คือ สัจจะของสิ่งที่สังขาร เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เรื่องนี้จึงได้อุบัติขึ้นมาเป็นพระพุทธเจ้า วันนี้ผมจึงจะพูดเรื่องสังขาร

ก่อนที่จะพูดเรื่องสังขารมาทำความเข้าใจคำว่าสังขารก่อนเพราะเวลานี้คำว่าสังขารได้ใช้กันทั่วไป แต่ไม่ตรงตามความหมายของอริยสัจ จะพูด ณ ที่นี้จะพูดตามหมายของอริยสัจเท่านั้น สังขาร คือ

การสังขารกันขึ้น คือการสังเคราะห์กันขึ้น หรือการปรุงขึ้น หรือประกอบกันขึ้น จะกระทำโดยสิ่งแวดล้อมอมหรือบุคคล ก็คือการสังขาร สังขารมีสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นเจตสิกสังขาร ส่วนหนึ่งเป็นสังขารธรรม วันนี้จะพูดส่วนที่เป็นสังขารธรรม ส่วนที่เป็นเจตสิกสังขารไว้เมื่อมีโอกาสควรพูด

เราเกิดมาทางชราพุดชะเกี่ยวคล้องเรื่องสังขารทั้งสิ้นตลอดชีวิตของเราเมื่อเราเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้นเราก็จะทำหน้าที่นั้นถูกต้องก็ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ถ้าไม่เห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้นเราจะทำหน้าที่นั้นได้อย่างไรเพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่สังขารกันขึ้น เราก็ไปทำเสียอย่างอื่น แม้แต่ชีวิตแบบฆราวาส นักบวชก็เช่นเดียวกัน เช่นทำวิปัสสนาก็ต้องเห็นแจ้งในกองสังขาร แม้กรรมฐานก็ต้องเห็นกิจของสังขาร ถ้าชีวิตท่านเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันต่อหน้าแล้วท่านก็ทำหน้าที่อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์สงบสันติมีนิพพานมีความอิสรภาพ

จะเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารได้อย่างไร ได้โดยเห็นคุณสมบัติของสิ่งนั้นต่อหน้าหรือเห็นความเป็นธาตุสิ่งนั้นก็จะเห็นความสามัญของนั้นก็คิดโดยตามความสามัญของเรื่องนั้น ก็จะมี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือทำหน้าที่โดยวิถีทางที่บริสุทธิ์ริบูรณ์ทางนี้คือทางมรรคมีองค์แปด ดำเนินไปโดยปราศจากทุกข์

สูตรการสู่พุทธธรรม

1. เห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้นโดยหลักอริสัจ 4 คือ

· เห็นทุกขสัจจะ เห็นสภาธรรม เห็นความเป็นธาตุ

· เห็นสมุทัยสัจจะ เห็นสัจจะธรรม เห็นกฎธรรมชาติ

· เห็นนิโรธสัจจะ เห็นปฏิบัติธรรม เห็นหน้าที่ธรรมชาติ

· เห็นมรรคสัจจะ เห็นปฏิเวธธรรม เห็นวิถีทางดำเนินไปที่ปราศจากทุกข์

ก็ได้เห็นสามัญลักษณะ เห็นอนัตตา เห็นสิ่งนั้นสังขารกันจึงได้ปรากฏขึ้นเช่นนั้น เห็นอนิจัง เห็นสิ่งที่สังขารกันขึ้นมีสภาพไม่คงที่ เห็นทุกขัง เห็นสิ่งที่สังขารกันขึ้นมีสภาพไม่คงรูป เมือเห็นเช่นนี้แล้วก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา ไปปฏิบัติธรรมที่ปรากฏต่อหน้าหรือปฏิบัติหน้าที่ จะทำก็งามอย่างชัดเจนมั่นคง ที่กำลังทำก็งามด้วยความสมบูรณ์ ที่ทำเสร็จแล้วก็งามในความเรียบร้อย ก็ปรากฏเป็นวิถีทางเป็นอริยมรรคมีองค์ 8 ประการคือ

1. เห็นความสามัญของสิ่งที่สังขารกันขึ้น (สัมมาทิฏฐิ)

2. คิดสิ่งที่เห็นโดยความสามัญของสามัญลักษณะ (สัมมาสังกัป)

3. วาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)

4. การกระทำไม่มีผู้กระทำมีแต่กิจที่กระทำ (สัมมากัมมันตะ)

5. มีชีวิตโดยความบริสุทธิ์บริบูรณ์ (สัมมาอาชีวะ)

6. ดำเนินหน้าที่ไปโดยความ บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว (สัมมาวายามะ)

7. เห็นสิ่งที่ถูกเห็นต่อหน้า รู้สิ่งที่ถูกรู้ต่อหน้า (สัมมาสติ)

8. บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย (สัมมาสมาธิ)

เมื่อวิถีทางอริยมรรคมีองค์โดยความสมบูรณ์แล้วก็ปรากฏ

9. ความรู้ๆสามัญ (สัมมาญาณะ)

10. ความเห็นที่ไม่มีความเศร้าหมองโดยสิ้นเชิงไม่มีปัจจัยใดๆมาปรุงแต่งได้ เป็นอตัมยตา (สัมมาวิมุติ)

วิชชา 4 วิธีการ 3 ปฏิบัติการ 8 เป็นหลักสูตรที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมสมบูรณ์ นักบวชและฆราวาสทุกเพศทุกวัยให้มีชีวิตบริสุทธิ์บริบูรณ์ สะอาด สว่าง สงบ

clip_image001

บทวิจาร

สิ่งที่สังขารกันขึ้นไม่เที่ยง

ร่างกายนี้สังขารกันขึ้น

สิ่งนั้นสังขารกันขึ้น

การเกิดทุกครั้งต้องมีปัจจัยมีเหตุ

การทุกครั้งเกิดจากอคติ อัตตา อวิชา

ศีล คือ สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปปะ

สมาธิ คือ บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย

ปัญญา คือ รู้ครบถ้วนวิชชา 4ในกองสังขารนั้น

สติ คือ รู้กิจต่อหน้านั้น

สังขาร คือ อาการปรุง สิ่งที่ถูกปรุง ผู้ปรุง

อย่าเอา สิกขาบท 5-8-10-227-มาเป็นศีล มิจฉาทิฏฐิ

อย่าไปเอาจิตที่ไม่คิดอะไรมาเป็นสมาธิ มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเอาความรู้เป็นปัญญา มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเอาความรู้ตัวมาเป็นสติ มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเอาสังขารเป็นร่างกาย มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าสังขารไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าร่างกายคือสังขาร มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าอะไรก็ไม่ใช่ตัวตน มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าอะไร อะไรก็ไมเที่ยง มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด มิจฉาทิฏฐ

อย่าเห็นว่าตายแล้วต้องเกิด มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าตายแล้วไม่เกิด มิจฉาทิฏฐิ

clip_image002

ฝึกขั้นพื้นฐาน

· จงรู้สิ่งที่พูด ว่าพูดอะไร

· จงฟังคนอื่นพูด ว่าพูดอะไร อย่าให้ความหมายในคำพูดนั้น

· จงเห็นสิ่งที่ถูกเห็น อย่าเอาความรู้ไปเห็น

· เมื่อคนอื่นพูดเช่นนี้ จงเข้าดูว่าเขาเห็นอะไรเห็นเช่นใด เห็นอย่างไร จึง

ได้พูดเช่นนี้

คำไหนผมพูดไม่เข้าใจหรือคาดเคลื่อนให้สอบถามพูดคุยท้วงติงได้เพื่อการสู่พุทธธรรมอย่างสมจริง

จาก สมพร แหยมไทย โทร036 410 021

Somporn.land@gmail.com

www.nippan-th.net