วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระพุทธเจ้า เห็นอะไร รู้อะไร

พระพุทธเจ้าเห็น รู้ ความจริงของธรรมชาติ และรู้ ความเห็นรู้ ที่ไปเห็นรู้ความจริงของธรรมชาตินั้น หมายความว่าพระพุทธเจ้าท่านเห็นความสามัญของธรรมชาติ รู้ความสามัญของการเห็นธรรมชาติ ในกาละเทศะ ต่อหนึ่งธรรมชาติ ชีวิตหน้าที่จึงได้ดำเนินไปโดย ความ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สะอาด สว่าง สงบ อยู่จบแห่งพรหมจรรย์ เมื่อชีวิตยังอยู่ก็ทำหน้าที่ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ กับสิ่งที่เกี่ยวคล้อง โดยปราศจากทุกข์ สุข มีแต่ความสงบสันติ

ธรรมชาติอะไรที่พระพุทธเจ้าที่ท่านเห็น คือ

· เห็นธรรมชาติที่สังเคราะห์กันขึ้น (สังขตธรรม)

· เห็นธรรมชาติที่ไม่สังเคราะห์ (อสังขตธรรม)

· เห็นธรรมชาติของความเห็น

· เห็นธรรมชาติของสิ่งที่ถูกเห็น

· เห็นธรรมชาติของสิ่งที่ถูกรู้

· เห็นธรรมชาติของความรู้

· เห็นธรรมชาติของเหตุ

· เห็นธรรมชาติของปัจจัย

· เห็นธรรมชาติของปัจจัยต่อปัจจัยสังเคราะห์กัน (สังขาร)

· เห็นความเป็นธาตุ 20 สังขตธาตุ อสังขตธาตุ 2 6*3 = 18 +2 = 20

· เห็นความเป็นธรรม 1 เอกวัจณ

1. รู้สภาวธรรม-ธาตุ-(ทุกขอริยสัจ)

2. รู้สัจธรรม-ขบวนการ-(ทุกขสมุทัยอริยสัจ)

3. รู้ปฏิบัติธรรม –หน้าที่-(ทุกขนิโรธอริยสัจ)

4. รู้ปฏิเวธธรรม-ปรากฏการ-(ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)

นี้คือสิ่งที่ถูกรู้ รู้ความเป็นไปของธรรมชาตินั้นคือวิชชา รู้ความจริง 4 อย่างครบถ้วนของธรรมชาตินั้นคือปัญญา เมื่อปัญญาปรากฏก็มี ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นวิธีการ 3 อย่าง ทำหน้าที่นั้นๆ ก็ปรากฏวิถีทางที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ต่อกิจกรรมนั้นๆ การปรากฏของทำหน้าที่ๆบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นสุดลงโดยความสงบสันติ คือนิพพาน ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งได้อีก (อตัมยตา)

· ได้อุบัติขึ้นมาก็มีหน้าที่ต่อสิ่งต่าง

· จงเห็นรู้ธรรมชาติอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ ในการอุบัติมา ณ ครั้งนี้

· ทำหน้าที่อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ในการที่อุบัติมา ณ ครั้งนี้

· ความสงบสันติก็ปรากฏกับชีวิตใน ขณะนั้น

· นิพพาน ณ ขณะนั้น

สรุป พระพุทธเจ้าท่าน เห็นรู้สัจจะ 4 อย่างของธรรมชาติที่สังขารกันขึ้นโดยเป็นวิชชาที่ปรากฏของการทำหน้าที่โดยมีวิธีการทำหน้าที่ 3 อย่างคือ (ไตรสิกขา)

1. ศีล- เห็นความสามัญ คิดโดยความสามัญ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัป)

2. สมาธิ –บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว (สัมมาวาจา สัมมากัมต สัมมาอาชีว สัมมาวายาม)

3. ปัญญา-รู้คบถ้วนในกองสังขารนั้น (สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

เมื่อทำหน้าที่โดยวิธีการ 3 อย่าง การทำหน้าที่ก็จะดำเนินไปโดยความบริสุทธิ์บริบูรณ์ องค์ 8 ประการ

1. เห็นความสามัญ (สัมมาทิฏฐิ)

2. คิดโดยความสามัญ (สัมมาสังกัป)

3. จาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)

4. กระทำโดยไม่มีผู้กระทำ (สัมมากัมมันต)

5. ดำรงค์ชีวโดยความสามัญ (สัมมาอาชีว)

6. ดำเนินไปโดยความสามัญของหน้าที่นั้น (สัมมาวายาม)

7. รู้กิจนั้น (สัมมาสติ)

8. รู้กิจอย่างบริสุทธิ์ อย่างชัดเจนมันคง มีความว่องไว (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย) ( สัมมาสมาธิ)

สงบสันติ (นิโรธคามินีมัชฌิมปฏิปทา)

ท่านอาจารย์พุทธทาสเห็นรู้อะไร

พุทธทาสภิกขุ ไปเห็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเห็น คือ

1. เห็นธรรมชาติ

2. เห็นกฎของธรรมชาติ

3. เห็นหน้าของธรรมชาติ

4. เห็นผลจากการทำหน้าที่ๆธรรมชาติมีให้ทำ

· การเห็นธรรมเห็นธาตุ จึงทำให้เจ้าฟ้าชาย สิตธัตถเป็นรพระพุทธเจ้า

· เห็นว่า ธรรมมะก็คือพุทธะ จึงได้ประกาศให้เป็นทาสของพุทธะทำหน้าที่ประกาศพรหมจรรย์ (อาทิกัลยาณัง) เริ่มต้นก็งาม (มัชเฌกัลยาณัง) ให้งามในความบริสุทธิ์บริบูรณ์ (ปริโยสานกัลป์ยาณัง) จบลงคบถ้วนด้วยความงาม

1. เห็นตถตา ความเป็นเช่นนั้น

2. เห็นอวิตถตา ไม่ผิดไปจากความเป็นเช่นนั้น

3. เห็นอนัญญถตา ความไม่เป็นอย่างอื่น

4. เห็นอิทัปปัจจยตา ความมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัยให้สิ่งนี้เกิดขึ้น

5. เห็นธัมมฐิถตา การตั้งอยู่ตามธรรมชาติ

6. เห็รธัมมนิยามตา ความเป็นฏกธรรมชาติ

7. เห็นสุณณตา ความเป็นของว่าง

8. อนัตตตา ความไม่ใช่ตัวตน

9. อตัมยตา ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้

ความเป็นพุทธทาสจึงได้ปรากฏขึ้น ณ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี

ไอน์สไตน์ เห็นอะไร

ไอน์สไตน์เห็น กาละกับเทศะ เวลาว่ามีผลต่อมวล ความเร็วมากขึ้น มวลลดลง สูตรก็คือ E=mcยกกำลัง2 ไอน์สไตน์เห็นทฤษฎีสัมพันธ์ คืออิทัปปัจจยตา ไอน์สไตน์เห็น

1. เห็นความเป็นธาตุของสสาร

2. เห็นโพรเสส(Process)ของสสาร

3. เห็นปฏิกิริยาของสสาร

4. เห็นปรากฏการของการทำปฏิกิริยาของสสาร

ไอน์สไตน์ไม่เห็นไม่รู้

· ไม่รู้ วิญญาญธาตุ

· ไม่รู้ จิตตธาตุ

· ไม่รู้ ทิฏฐิธาตุ

· ไม่รู้ อชิชชาธาตุ

· ไม่รู้ วิชชาธาตุ

· ไม่เห็น อารมณ์ 5 อย่าง (เบญจขันธ์)

· ไม่เห็น รูปธาตุ

· ไม่เห็น เวทนาธาตุ

· ไม่เห็น สัญญาธาตุ

· ไม่เห็น สังขารธาตุ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฏการดำเนินชีวิตที่ปราศจากปัญหา

 

ชีวิต คือ การทำหน้าที่อยู่

การมีชืวิต คือ มีการทำหน้าที่ จะทำหน้าได้ก็ต้องรู้เรื่องของกิจกรรมนั้นๆได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะทำหน้าที่นั้นๆได้สมบูรณ์ ก็จะเกิดผิตผลอย่างสมบูรณ์ ชีวิตก็สมบูรณ์ไปด้วย

เพราะฉะนั้นชีวิตจะต้องดำเนินไปด้วยกฏ 4 อย่างคือ

1. สภาวธรรม (คุณสมบัติของธรรมชาติ)

2. สัจธรรม (กฏของธรรมชาติ)

3. ปฏิบัติธรรม (หน้าที่ของธรรมชาติ)

4. ปฏิเวธธรรม (ผิตผลของธรรมชาติ)

สี่อย่างนี้ คือ อริยสัจ นี้คือความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น ชีวิตต้องดำเนินไปกับสิ่งนี้ จรึงต้องประจักไห้บริสุทธิ์บริบูรณ์ต่อหลัก 4 อย่างนี้

· สิ่งที่อยู่ต่อหน้าคืออะไร ให้บริสุทธิ์ชัดเจน ไม่มีอคติพอใจหรือไม่พอใจ ได้ข้อมูลที่เป็นสัจจะ เป็นข้อมูลจริง ไม่เป็นข้อมูลเท็จ

· สิ่งนั้นมาจากอะไร ประกอบไปด้วยอะไร มีโคลงสร้างอย่างไร

· สิ่งนั้นเพื่อกิจอันใด กิจนั้นทำหน้าที่อย่างไร

· มีวิธีการอย่างไร มีวิธีการ 3 อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

1. ศีล คือ เห็นความสามัญของสิ่งนั้น คิดโดยความสามัญ

2. สมาธิ คือ บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)

3. ปัญญา คือ รู้ครบถ้วนในสิ่งที่สังขารกันขึ้น

เมื่อเรามีวิธีการ 3 อย่างเป็นครื่องมือไปทำหน้าที่การปฏิบัติหน้าที่นั้นก็มีคุณสมบัติ 8 อย่างเป็นองค์รวมเป็นวิถีทางที่ปราศจากปัญหาเป็นวิถีทางที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ องค์ 8 คือ

1. เห็นความสามัญของสิ่งนั้น (สัมมาทิฐิ)

2. คิดโดยความสามัญ (สัมมาสังกัปปะ)

3. วาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)

4. การกระทำไม่มีตัวผู้กระทำ (สัมมากัมมันตะ)

5. ดำรงค์ชีวิตโดยปกติ (สัมมาอาชีวะ)

6. ดำเนินโดยความมั่นคง (สัมมาวายามะ)

7. รู้สิ่งที่อยู่ต่อหน้าอย่างชัดเจน (สัมมาสติ)

8. รู้อย่างบริสุทธิ์ เห็นอย่างชัดเจนมั่นคงไม่หวันไหว ว่องไวต่อสิ่งที่สังขารกันขึ้นโดยครบถ้วน(สัมมาสมาธิ)

เมื่อปฏิบัติการ 8 อย่างสมบูรณ์ก็เกิดผล 2 อย่าง

1. รู้สัจจะความรู้ สัจญาณ รู้สัจจะของกิจ กืจญาณ รู้สัจจะสิ่งทีปรากฏ กตญาณ (สัมมาญานะ)

2. ปัจจัยทรั้งหลายมาปรุงแต่งไม่ได้ ปราศจากความมัวหมอง อตัมยตา (สัมมาวิมุต)

นี้คือการดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ที่ได้อุบัติมาเป็นมนุษย์ที่ได้พบพระพุทธศาสาตร์ พุทธศาสตร์เป็นหลักสูตรที่สร้างพัฒนาการให้ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบทุกเพศทุกวัยทุกฐานะทุกภาว

จากความเป็นคน พัฒนาการมาเป็นมนุษย์ เมื่อเป็นมนุษย์แล้วจงมาศึกษาทุกสิ่งอย่างโดยใช้หลัก 4 ในการต่อวิชานั้นๆใช้กลับทุกวิชชาก็จะเกิดระบบการเรียนรู้ 3 อย่าง คือ

1. เลอนนิ่ง สกิว (learning) ศึกษาต่อเนื่องไปได้ตลอดสาย

2. เวอร์ค สกิว (work skill) ศึกษาไปทำหน้าที่

3. ไลฟ์ สกิว (lice skill) ศึกษาไปดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์

การศึกษาให้เข้าถึงธรรมชาติ

· อย่าศึกษาแบบเห็นดัวยไม่เห็นด้วย

· อย่าศึกษาแบบาตามเขาว่า

· อย่าอ่านแค่หนังสือ พระไตรปิฎกเป็นแค่อักษรศาตรและวรรณคดีเท่านั้น

· อย่าเอาแค่ความเข้าใจ

· อย่าลงมือทำโดยที่ยังไม่เห็นและประจักษ์ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนั้นมาจากอะไร สิ่งนั้นเพื่ออะไร โดยดำเนินการอย่างไร

· จงศึกษาธรรมชาติล้วนๆ (สุทธิ ธัมมา ปวัตตันติ ธรรมชาติล้วนๆหมุนเวียนไป)

· จงศึกษาที่กายยาวว่า หนาสอก พร้อมสัญญาและใจ

· จงสมาทานสัมมาทิฏฐิ (สัมมาทิฏฐิ สมาทานัง สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง)

· จงมีอริยสัจ 4 เป็นหลัก

· มีวิธีการ 3 เป็นเครื่องมือ (คือไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา)

· ปรากฏวิถีทาง 8 (คือมรรคมีองค์ 8 มัชฌิมาปฏิปทา)

จากสมพร แหยมไทย โทร 036 410021 syea@chaiyo.com18/12/48

ไม่จนบุญต่ออีกไป

         เวลานี้สังคมไทยกำลังจนบุญ ทำไม่จึงว่าจนบุญ ก็เพราะว่าอะไรที่เขาเข้าใจว่าใช่บุญเขาจะทำ แหละสิ่งที่เขาเข้าใจว่าไม่ใช่บุญเขาจะไม่ทำ นั้นแสดงว่าเขาจนบุญไม่ใช่ใจบุญ ทำไม่เขาจึงจนบุญก็เพราะเขาไปหาสิ่งที่เขาไม่รู้จัก แหละ หาสิ่งที่ไม่มี แล้วเขาจะไม่จนได้อย่างไร ที่จริงแล้วบุญนั้นอยู่ต่อหน้าเขาและรอบตัวขาอยู่นั้นแล้ว เขาไปหาที่ไหนก็ไม่รู้ เพราะเขาไม่รู้จักความเป็นบุญ จะหาทั้งชีวิตก็ไม่พบหลอกครับ ไปหาสิ่งที่ไม่รู้จักจะพบได้อย่างไรก็เลยไปหาสิ่งที่ไม่มีเสียอีก ก็เลยไม่มีโอกาสพบบุญ มีพระที่แท้จริงบอกเขาก็ไม่ฟังเช่นท่านพุทธทาสภิกขุ เขากับไปฟังคนที่แต่งตัวเหมือนพระเสียอีก คนที่แต่งตัวเหมือนพระก็หลับตาบอกๆว่าไปทำบุญ บุญทำเอาหรือไม่ใช่ ความจริงบุญปรากฏจากทำกิจกรรมนั้นโดยเคารพธรรมกิจกรรมนั้นก็เป็นกุศลกุศลส่งผลให้ปรากฏบุญ การบวรทุกครั้งจะเอาคนมาบวรเป็นพระไม่ได้นะครับเคยได้ยินไหมครับมีคำว่า มนุษย์โสสิ ว่าใช่มนุษย์ จงเขาใจก่อนว่าคนไม่ใช่มนุษย์ มนุษย์ใจสูงกว่าคน คนเป็นเพียงบอดี้ ของมนุษย์ คนเป็นบอดี้ของเดรัจฉานภูมิ คนเป็นบอดี้ของเทวดา คนเป็นบอดี้เปรต คนเป็นบอดี้ของพรหม ฯ คนเป็นเพียงอาร์ดแวร์ ไส่ซอฟแวร์ความเป็นมนุษย์เข้าไปจึงได้ทำหน้าที่รู้อะไรเป็นอะไรได้ จึงบวรเป็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้เขาไปศึกษาพุทธศาสตร์ที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้เห็นอย่างพระพุทธเจ้าท่านเห็น แล้วก็มาแสดงธรรมให้พุทธศาสนิกชนเห็นธรรมไปปฏิบัติหน้าที่ ที่เป็นกุศล บุญก็จะปรากฏ ณ ที่นั้นๆ มีความสะอาด มีความสว่าง มีความสงบ ทุกๆกิจกรรมดำเนินไปโดยมัชฌิมาปฏิปทา ใช้สร้อยปัจจัยนั้นอย่างพอดี โดยความสมบูรณ์ ไม่ขาด ไม่เกิน นี้คือไม่ต้องจนบุญอีกต่อไปกาล เป็นมนุษย์ที่ใจบุญ ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ ปราศจากทุกข์ สมบูรณ์ด้วยอริยทรัพย์ นี้คือมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดในความเป็นมนุษย์

Somporn.land@gmail.com

036 410 021

คนคืออะไร

           คนเป็นเพียงฮาร์ดแวร์หรือบอร์ดี้เท่านั้นนี้การเกิดขึ้นทางชลาพุชะกำเนิดอยู่ที่จะไส่ซอฟร์แวร์มนุษย์-เทวดา-พรหม-นรก-เปรต-อสุรกายอยู่ที่ว่าไปรับข้อมูลมาเขียนโปรแกรมคือซอฟร์แวร์ ไส่ลงไปในฮาร์ดแวร์นั้นนี้การเกิดขึ้นทางโอปปาติกะกำเนิดถ้าเป็นซอฟร์แวร์มนุษย์ ก็จะเป็นมนุษย์ จะศึกษาพุทธศาสตร์ได้วิชชาพุทธศาสตร์จะพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ได้โดยวิชชาการ 4วิธีการ 3 ปฏิบัติการณ์ 8 ทุกๆฐานะและหน้าที่ได้อย่าง สะอาด สว่าง สงบ

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลอนนิพพาน

Picture 039

ชาติดับ-นิพพานปรากฏ

ชีวิตนี้มีไม่มากทำไม่ยากไม่ต้องอยากทำ

เห็นหลัก 4 มีวิธีการ 3 เป็นวิถีทาง 8

ทางไม่แคบทีละคนไม่ปนกัน

ดำเนินเป็นนิพพานไม่ผ่านใคร

นี่แหละทางสงบไม่พบพาล

เห็นความจริงของสิ่งที่สังขาร

ปรากฏการณ์สามวิธีที่สำคัญ

วิถีทางแปดอย่างซึมซาบซึ่งร่วมกัน

รวมกันนั้นเป็นทางมรรคคาปฏิปทาฯ

{วิชชา 4 วิธีการ 3 วิถีทาง 8}

ปรารภจาก

สมพร แหยมไทย

www.nippan-th.net

landyerm@hotmail.com

โทร 036 410 021

เวลาอยู่ ไม่จำเป็น รู้จักฉัน

เวลาฉัน นั้นจากไป จะได้ไม่ห่วงใย

เพียงครั้งเดียว ฉันเกิดมา ในโลกนี้

สิ่งใดที่ ฉันทำได้

ความเมตตากรุณาต่อใครๆ

ฉันขอทำให้ทันที

ไม่ผัดรอ คอยถึง โอกาสหน้า

ไม่รอรีบช้าทำให้เต็มที

ฉันคง ไม่เกิดซ้ำ มาอีกที

รีบฉวยนั้น ทันที แก่โลกเอย

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

http://www.nippan-th.net

จะมีธรรมะได้อย่างไร

ธรรมะคืออะไร

ธรรมะคือ ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น คือ

1. ธรรมะ คือ ธรรมชาติ

2. ธรรมะ คือ กฎของธรรมชาติ

3. ธรรมะ คือ หน้าที่ของธรรมชาติ

4. ธรรมะ คือ ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ

เห็นวิชชา 4

1. จงเห็นคุณสมบัติของธรรมชาตินั้นๆ เห็นความสามัญของธรรมชาตินั้นๆ (ตถตา)

2. จงเห็นกฎของธรรมชาตินั้น เห็นสัจธรรม (ตถตา)

3. จงเห็นหน้าที่ของธรรมชาตินั้น เห็นกิจของธรรมชาตินั้น (ตถตา)

4. จงเห็นผลของการทำหน้าที่ของธรรมชาตินั้น (ตถตา)

วิชชาพุทธศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์

1. ทนต่อการพิสูจน์ มีค่าคงที่ (เป็นตถตา)

2. ดำรงอยู่โดยไม่อาศัยปัจจัย

3. มีการครอบงำสังขารทั้งหลาย

4. เป็นสิ่งเห็นได้ เรียกมาดูได้ รู้สึกได้ (มีวิมุตเป็นเอหิปัจสิโก)

จะมีธรรมะได้อย่างไร

จะมีธรรมะโดย คือ

(จงศึกษาพุทธศาสตร์โดยความเป็นวิทยาศาสตร์)

1. จงรู้สิ่งที่พูด อย่าพูดสิ่งที่รู้

2. จงฟังเรื่อง อย่าฟังคน จงเห็นสิ่งที่ถูกเห็น จงรู้สิ่งที่ถูกรู้ อย่าเอาความรู้ไปรู้ จงเห็นเรื่องต่อหน้า จงพูดเรื่องต่อหน้า (โดยพุทธพจน์กล่าวว่า ใบไม้ในมือแม้แต่เล็กน้อยก็ใช้ประโยชน์ได้ ใบไม้ในป่าอันมากมายอย่าเพิ่งไปรู้มันเลยให้มาอยู่ในมือค่อยรู้กัน)

3. จงเห็นรู้ความสามัญของหน้าที่การงานนั้นๆ

4. จงเคารพหน้าที่การงานที่ตนทำอยู่

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พุทธธรรม

วันนี้วันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เป็นคลายวันเกิดท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเมื่อ พ.ศ.2449 นับตั้งแต่วันนั้นมาถึงวันนี้เวลาประมาท 105 ปีแล้วท่านอาจารย์พุทธทาสตั้งสวนโมกข์ขึ้นเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2475

วันนี้เป็นวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2554 เป็นวันคลายวันเกิดท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุท่านอาจารย์สั่งไว้ว่าเมื่อกายสังขารฉันจากไปจงสนทนาธรรมซักถามธรรม เพี่อการเกื้อกูลอนุเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้สู่พุทธธรรม เหมือนเมื่อเรายังอยู่

วันนี้ผมจะพูดการสู่พุทธ ธรรม โดยเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น เพราะชีวิตทุกรูปทุกนามต้องเกี่ยวคล้องกับสิ่งที่สังขารกันขึ้น ดลอดชีวิตของเราทุกถานะทุกภาวะทุกเพศทุกวัย

คำสังขารมีความสำคัญอย่างไร พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญอย่างไร ผมจะยกตัวอย่างมาให้ดูสักเรื่องหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าคุณสมบัติอริยสัจมี 4 อย่างคือ

1. อริยสัจ มีลักษณะ ทนต่อการพิสูจน์

2. อริยสัจ มีอาการทรงอยู่โดยไม่อาศัยปัจจัย

3. อริยสัจ มีกิจครอบงำสังขารทั้งหลาย

4. อริยสัจ มีรสเป็นวิมุตเอหิปัจสิโก เป็นสิ่งที่รู้สึกได้ เห็นได้ เรียกมาดูได้

อริยสัจ คือ สัจจะของสิ่งที่สังขาร เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เรื่องนี้จึงได้อุบัติขึ้นมาเป็นพระพุทธเจ้า วันนี้ผมจึงจะพูดเรื่องสังขาร

ก่อนที่จะพูดเรื่องสังขารมาทำความเข้าใจคำว่าสังขารก่อนเพราะเวลานี้คำว่าสังขารได้ใช้กันทั่วไป แต่ไม่ตรงตามความหมายของอริยสัจ จะพูด ณ ที่นี้จะพูดตามหมายของอริยสัจเท่านั้น สังขาร คือ

การสังขารกันขึ้น คือการสังเคราะห์กันขึ้น หรือการปรุงขึ้น หรือประกอบกันขึ้น จะกระทำโดยสิ่งแวดล้อมอมหรือบุคคล ก็คือการสังขาร สังขารมีสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นเจตสิกสังขาร ส่วนหนึ่งเป็นสังขารธรรม วันนี้จะพูดส่วนที่เป็นสังขารธรรม ส่วนที่เป็นเจตสิกสังขารไว้เมื่อมีโอกาสควรพูด

เราเกิดมาทางชราพุดชะเกี่ยวคล้องเรื่องสังขารทั้งสิ้นตลอดชีวิตของเราเมื่อเราเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้นเราก็จะทำหน้าที่นั้นถูกต้องก็ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ถ้าไม่เห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้นเราจะทำหน้าที่นั้นได้อย่างไรเพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่สังขารกันขึ้น เราก็ไปทำเสียอย่างอื่น แม้แต่ชีวิตแบบฆราวาส นักบวชก็เช่นเดียวกัน เช่นทำวิปัสสนาก็ต้องเห็นแจ้งในกองสังขาร แม้กรรมฐานก็ต้องเห็นกิจของสังขาร ถ้าชีวิตท่านเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันต่อหน้าแล้วท่านก็ทำหน้าที่อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์สงบสันติมีนิพพานมีความอิสรภาพ

จะเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารได้อย่างไร ได้โดยเห็นคุณสมบัติของสิ่งนั้นต่อหน้าหรือเห็นความเป็นธาตุสิ่งนั้นก็จะเห็นความสามัญของนั้นก็คิดโดยตามความสามัญของเรื่องนั้น ก็จะมี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือทำหน้าที่โดยวิถีทางที่บริสุทธิ์ริบูรณ์ทางนี้คือทางมรรคมีองค์แปด ดำเนินไปโดยปราศจากทุกข์

สูตรการสู่พุทธธรรม

1. เห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้นโดยหลักอริสัจ 4 คือ

· เห็นทุกขสัจจะ เห็นสภาธรรม เห็นความเป็นธาตุ

· เห็นสมุทัยสัจจะ เห็นสัจจะธรรม เห็นกฎธรรมชาติ

· เห็นนิโรธสัจจะ เห็นปฏิบัติธรรม เห็นหน้าที่ธรรมชาติ

· เห็นมรรคสัจจะ เห็นปฏิเวธธรรม เห็นวิถีทางดำเนินไปที่ปราศจากทุกข์

ก็ได้เห็นสามัญลักษณะ เห็นอนัตตา เห็นสิ่งนั้นสังขารกันจึงได้ปรากฏขึ้นเช่นนั้น เห็นอนิจัง เห็นสิ่งที่สังขารกันขึ้นมีสภาพไม่คงที่ เห็นทุกขัง เห็นสิ่งที่สังขารกันขึ้นมีสภาพไม่คงรูป เมือเห็นเช่นนี้แล้วก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา ไปปฏิบัติธรรมที่ปรากฏต่อหน้าหรือปฏิบัติหน้าที่ จะทำก็งามอย่างชัดเจนมั่นคง ที่กำลังทำก็งามด้วยความสมบูรณ์ ที่ทำเสร็จแล้วก็งามในความเรียบร้อย ก็ปรากฏเป็นวิถีทางเป็นอริยมรรคมีองค์ 8 ประการคือ

1. เห็นความสามัญของสิ่งที่สังขารกันขึ้น (สัมมาทิฏฐิ)

2. คิดสิ่งที่เห็นโดยความสามัญของสามัญลักษณะ (สัมมาสังกัป)

3. วาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)

4. การกระทำไม่มีผู้กระทำมีแต่กิจที่กระทำ (สัมมากัมมันตะ)

5. มีชีวิตโดยความบริสุทธิ์บริบูรณ์ (สัมมาอาชีวะ)

6. ดำเนินหน้าที่ไปโดยความ บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว (สัมมาวายามะ)

7. เห็นสิ่งที่ถูกเห็นต่อหน้า รู้สิ่งที่ถูกรู้ต่อหน้า (สัมมาสติ)

8. บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย (สัมมาสมาธิ)

เมื่อวิถีทางอริยมรรคมีองค์โดยความสมบูรณ์แล้วก็ปรากฏ

9. ความรู้ๆสามัญ (สัมมาญาณะ)

10. ความเห็นที่ไม่มีความเศร้าหมองโดยสิ้นเชิงไม่มีปัจจัยใดๆมาปรุงแต่งได้ เป็นอตัมยตา (สัมมาวิมุติ)

วิชชา 4 วิธีการ 3 ปฏิบัติการ 8 เป็นหลักสูตรที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมสมบูรณ์ นักบวชและฆราวาสทุกเพศทุกวัยให้มีชีวิตบริสุทธิ์บริบูรณ์ สะอาด สว่าง สงบ

clip_image001

บทวิจาร

สิ่งที่สังขารกันขึ้นไม่เที่ยง

ร่างกายนี้สังขารกันขึ้น

สิ่งนั้นสังขารกันขึ้น

การเกิดทุกครั้งต้องมีปัจจัยมีเหตุ

การทุกครั้งเกิดจากอคติ อัตตา อวิชา

ศีล คือ สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปปะ

สมาธิ คือ บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย

ปัญญา คือ รู้ครบถ้วนวิชชา 4ในกองสังขารนั้น

สติ คือ รู้กิจต่อหน้านั้น

สังขาร คือ อาการปรุง สิ่งที่ถูกปรุง ผู้ปรุง

อย่าเอา สิกขาบท 5-8-10-227-มาเป็นศีล มิจฉาทิฏฐิ

อย่าไปเอาจิตที่ไม่คิดอะไรมาเป็นสมาธิ มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเอาความรู้เป็นปัญญา มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเอาความรู้ตัวมาเป็นสติ มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเอาสังขารเป็นร่างกาย มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าสังขารไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าร่างกายคือสังขาร มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าอะไรก็ไม่ใช่ตัวตน มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าอะไร อะไรก็ไมเที่ยง มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด มิจฉาทิฏฐ

อย่าเห็นว่าตายแล้วต้องเกิด มิจฉาทิฏฐิ

อย่าเห็นว่าตายแล้วไม่เกิด มิจฉาทิฏฐิ

clip_image002

ฝึกขั้นพื้นฐาน

· จงรู้สิ่งที่พูด ว่าพูดอะไร

· จงฟังคนอื่นพูด ว่าพูดอะไร อย่าให้ความหมายในคำพูดนั้น

· จงเห็นสิ่งที่ถูกเห็น อย่าเอาความรู้ไปเห็น

· เมื่อคนอื่นพูดเช่นนี้ จงเข้าดูว่าเขาเห็นอะไรเห็นเช่นใด เห็นอย่างไร จึง

ได้พูดเช่นนี้

คำไหนผมพูดไม่เข้าใจหรือคาดเคลื่อนให้สอบถามพูดคุยท้วงติงได้เพื่อการสู่พุทธธรรมอย่างสมจริง

จาก สมพร แหยมไทย โทร036 410 021

Somporn.land@gmail.com

www.nippan-th.net