วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คิด

องค์ความรู้เป็นวิชาการเท่านั้น วิธีคิดเป็นวิธีการและเป็นเครื่องมือที่จะทำหน้าที่นั้นๆ
สังคมไทยมีองค์ความรู้พอสมควร แต่ขาดวิธีคิด ไม่ชอบฟังใคร ไม่ชอบคิด
จงฟัง จงอ่านให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยไม่มีอคติ จงรู้สิ่งที่พูด อย่าพูดสิ่งที่รู้

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไปชมรมประกาศพรหมจรรย์

ไปเที่ยวชมรมประกาศพรหมจรรย์ www.nippan-th.net

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ฝึกหัดปฏิบัติธรรมอย่างย่อ

หลักฝึกหัดปฏิบัติธรรมโดยย่อ
การใช้ขีวิตประจำวัน ทำอะไร จงรู้สิ่งที่ถูกรู้ สิ่งนั้นอะไร สิ่งนั้นมาจากอะไร สิ่งนั้นเพื่ออะไร วิธีการทำอย่างไร อย่าเอาความรู้ไปรู้สิ่งนั้น จงรู้สิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น นี้คือรู้กิจนั้นๆ นี้คือ สติ
เวลาพูดก็ต้องรู้ว่า พูดอะไร พูดเรื่องอะไร พูดเพื่อกิจอันใด พูดเป็นไปตามกิจหรือไม่ จงรู้สิ่งที่พูด อย่าเอาความรู้มาพูด จงรู้สิ่งที่พูดเท่านั้น นี้คือ สติ
เวลาฟังก็ฟังว่าเขาพูดอะไร อย่าไปให้ความหมายคำพูดนั้นๆว่า ดี ชั่ว ผิด ถูก หรือใครพูด ฟังเรื่องที่พูดให้ ฟังเพียวๆ ก็ชัดเจนมั่นคง ว่องไว ต่อสิ่งที่ปรุงกันขึ้นนั้นๆ นี้ คือ สมาธิ
สติ+สมาธิ นี้ คือ องค์คุณของปัญญา เมื่อไปรู้ก็โดยคุณสมบัติของปัญญา ก็เห็นวิชชาชัดแจ้ง ก็ได้ข้อมูลจริงจึงทำให้ได้วิธีการ 3 อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาทำหน้าที่ต่อกิจกรรมนั้นๆโดยมัชฌิมาปฏิปทา ทำหน้าที่นั้นๆได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์สงบสันติ ก็สมบูรณ์แบบแล้วมิใข่หรือที่เราเป็นอะไรกันบนโลกใบนี้

จาก สมพร แหยมไทย โทร 036 410021 somporn.land@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลักการปฏิบัตธรรม

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
รู้ความจริงสิ่งที่สังขารกันขึ้น
หลักสูตรปฏิบัติธรรมมี
· หลัก วิชชา 4 (ธรรมชาติสิ่งที่สังขารกันขึ้น)
· วิธีการ 3 (คุณสมบัติการทำหน้าที่ 3 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
· วิถีทาง 8 (ดำเนินไป 8 อย่าง คือ อริยมรรค)

จงรู้สิ่งที่ถูกรู้อยู่ต่อหน้า คิดสิ่งต่อหน้า ฟังสิ่งต่อหน้า รู้ธรรมชาติ 4 อย่าง คือ
1. รู้คุณสมบัติของธรรมชาติของสิ่งนั้น
2. รู้กฎธรรมชาติของสิ่งนั้น
3. รู้กิจของธรรมชาตินั้น
4. รู้ผลของธรรมชาตินั้น
การที่รู้ธรรมชาติ 4 อย่างทำให้มีวิธีการ 3 อย่าง
1. มีศีล เห็นความสามัญของสิ่งนั้น คิดความสามัญของสิ่งนั้น(สัมมาทฏฐิ สัมมาสังกับปะ)
2. มีสมาธิ ความเห็นก็บริสุทธิ์ ความเห็นก็ช้ดเจน ความรู้มันคง ความรู้ว่องไวคบถ้วน (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)
3. ปัญญา รู้กองสังขารโดยครบถ้วนชัดแจ้ง
มีคุณสมบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติหน้าที่โดยความเป็นธรรมเป็นไปโดยมัชฌิมาปฏิปทา เป็นวิถีทางของอริยมรรคที่ปราศจากทุกข์ มีอริยมรรคเป็นวิถีทางในการทำหน้านั้นๆในโลกนี้ทุกอย่าง ทำหน้าที่การศึกษา ทำหน้าที่ต่อกิจกรรมทั้งหลายไม่ยกเว้นอะไรทั้งหมด เพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ปรุงกันขึ้น เป็นสิ่งสังขารกันขึ้น เป็นสิ่งที่สังเคราะห์กันขึ้น นี้คือการเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น นี้คืออริยสัจที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ในตอนเช้าเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ นิพพาน อุบัติขึ้นของความเป็นพุทธเจ้า ในขณะนั้น มีคุณสมบัติเป็นพุทธะ เพราะเห็นธรรม เพราะเห็นธรรม จึงได้ปฏิบัติหน้าที่ ที่มีศีล สมาธิ ปัญญาโดยวิถีทางที่มีองค์ 8 อย่าง
1. เห็นความสามัญ (สัมมาทิฏฐิ)
2. คิดโดยความสามัญ (สัมมาสังกัป)
3. วาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)
4. กระทำไม่มีตัว (สัมมากัมตะ)
5. ดำรงชีวิตโดยธรรม (สัมมาอาชีวะ)
6. ดำเนินโดย บริสุทธิบริบูรณ์ (สัมมาวายามะ)
7. รู้กิจนั้นโดยสมบูรณ์ (สัมมาสติ)
8. บริสุทธิ์ แจ้งมั่นคง ว่องไว(บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)(สัมมาสมาธิ)
(เอกายโน ภิกขเว มัคโค) ทางนี้ทางเดียว สายเดียว เพื่อคนๆเดียว ไปสู่จุดหมายเดียว ทางสายเดียว
ชีวิตนี้มีไม่มากทำไม่ยากไม่ต้องอยากทำ
เห็นหลัก 4 มีวิธีการ 3 เป็นวิถีทาง 8
ทางไม่แคบทีละคนไม่ปนกัน
ดำเนินเป็นนิพพานไม่ผ่านใคร
นี่แหละทางสงบไม่พบพาล

เห็นความจริงของสิ่งที่สังขาร
ปรากฏการณ์สามวิธีที่สำคัญ
วิถีทางแปดอย่างซึมซาบซึ้งร่วมกัน
รวมกันนั้นเป็นทางมรรคคาปฏิปทาฯ

สรุปว่า ทุกสิ่งที่อุบัติขึ้นมาต้องทำหน้าที่เพราะฉะนั้นจึงต้องเห็นแจ้งรู้จริงในคุณสมบัติของธรรมชาตินั้นๆ ธรรมชาติที่ปรุงกันขึ้นและธรรมชาติไม่ปรุง ทุกวันเราทำหน้าที่กับสิ่งที่ปรุงอยู่ จะเป็นการปรุงโดยธรรมชาติก็ดี การปรุงโดยการเคลื่อนย้ายจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั้นคือการปรุงชนิดหนึ่ง เราต้องเห็นแจ้งรู้จริงในสิ่งที่ปรุงกันขึ้นนี้คือ อริยสัจ การที่เห็นแจ้งรู้จริงในคุณสมบัติของสิ่งที่จะทำหน้าที่ เพราะเรารู้ว่าสิ่งนั้น อะไร สิ่งนั้นมาจากอะไร สิ่งนั้นเพื่ออะไร สิ่งนั้นเป็นย่างไร / จริง จำเป็น มีประโยชน์ เราจะได้วิธีการทำหน้าที่มาจากความจริงของสิ่งนั้น เราจะเห็นความสามัญของความจริงนั้น เราจะมีเท็คนิคในการทำหน้าที่นี้คือ ศีล เราจะเห็นรู้สิ่งนั้นอย่างบริสุทธิ์ ขัดเจนมั่นคง ว่องไวนี้คือ สมาธิ เราจะรู้สิ่งนั้นอย่างครบถ้วนนี้คือ ปัญญา เราจะมี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือทำหน้าที่ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยปราศจากทุกข์
· จงฟังเรื่องจะรู้เรื่อง สติคือการรู้เรื่อง
· จงฟังว่าเขาพูดอะไร
· จงรู้สิ่งที่พูด
· จงพูดที่ให้ ศักศรี ให้สิทธิ์ ไห้ประโยนช์
· สติ คือ รู้กิจเฉพาะหน้านั้น
· สมาธิ คือ บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไว
· ปัญญา คือ รู้ครบองค์ 4
· คำว่า ปรุง เป็นภาษาไทย
· คำว่า สังขาร เป็นภาษาบาลี
· คำว่า สังขาร กับ ปรุง บัญญัติต่างกันแต่อัฏฐะเดียวกัน (ความหมายเดียวกัน)
· ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น คือ อริสัจ 4
· พระพุทธ คือ ความรู้ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์
· พระธรรม คือ คุณสมบัติของธรรมชาติ 4 อย่าง
· พระสงฆ์ คือ ปฏิบัติหน้าที่ธรรมชาติอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์
· จงเป็นศิษ อย่างคนมีอาจารย์
· จงเป็นแม่พ่อ อย่างคนมีลูก
· จงเป็นลูก อย่างคนมีแม่มีพ่อ
· จงเป็นพี่ อย่างคนมีน้อง
· จงเป็นพลเมือง อย่างคนมีชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์


จากสมพร แหบไทย โทร 036 410021 somporn.land@gmail.com landyerm@hotmail.com
www.nippan-th.net

หลักการปฏิบัติธรรม